Loading Map....

Date/Time
Date(s) - Sat, 25 Mar 2023
10:00 am - 11:00 am

Location
วัดป่าโพธิศรัทธา Bodhisaddha Forest Monastery

Categories


วันเสาร์ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๖

10:00AM-11:00AM ALMS ROUND & DANA MEAL OFFERINGS

(พระบิณฑบาตในวัด และถวายภัตตาหาร )

 

กิจกรรมอื่น ๆ โดย หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม

 

พระเทพวชิรญาณ (เลี่ยม ฐิตธมฺโม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเทพวชิรญาณ​,วิ.
(เลี่ยม ฐิตธมฺโม)
Lp-liam.jpg
คำนำหน้าชื่อ พระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณ
ชื่ออื่น พระอาจารย์เลี่ยม
ส่วนบุคคล
เกิด 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 (81 ปี)
นิกาย มหานิกาย
การศึกษา นักธรรมชั้นเอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่ วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี
บรรพชา 28พฤษภาคม​ พ.ศ. 2503
อุปสมบท 22​ เมษายน​ พ.ศ. 2504
พรรษา 61 พรรษา
ตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง ที่ปรึกษา​เจ้าคณะ​ภาค​ ๑๐

พระเทพวชิรญาณ​,วิ. นามเดิม เลี่ยม จันทำ ฉายา ฐิตธมฺโม เป็นพระภิกษุฝ่ายอรัญวาสีมหานิกาย ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนองป่าพงถัดจากพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ด้วยนิสัยมักน้อย สันโดษ ถ่อมตน[1] จึงเป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชนจำนวนมาก เมื่อครั้งหลวงพ่อชา ท่านอาพาธหนัก ได้ขอให้พระอาจารย์เลี่ยม รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแทน ทำให้ท่านต้องรักษาการแทนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ประวัติ[แก้]

ชาติกำเนิด[แก้]

พระเทพวชิรญาณ,วิ. นามเดิม เลี่ยม จันทำ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2484 ที่บ้านโคกจาน ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ บิดาชื่อนายเพ็ง จันทำ มารดาชื่อนางเป้ง จันทำ มีพี่น้องทั้งหมด 6 คน โดยท่านเป็นคนที่ 4

อุปสมบท[แก้]

พระอาจารย์เลี่ยม ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ 2504 โดยมีพระครูถาวรชัยเขต เป็นพระอุปัชฌาย์ พระทิพย์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระจันลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกในปี 2507

ปฏิบัติกรรมฐาน[แก้]

ในปี 2512 พระอาจารย์เลี่ยม ได้ออกเดินทางเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อเรียนรู้ธรรม จนได้มาพบสำนักของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) วัดหนองป่าพง ซึ่งเป็นวัดที่ร่มรื่น สะอาดสะอ้าน เสนาสนะมีระเบียบเรียบร้อย ดูแล้วเย็นใจ และได้กราบนมัสการหลวงพ่อชา ขอฝากตัวเป็นศิษย์ ในการนี้เอง หลวงพ่อชา ท่านได้เมตตาเปลี่ยนบริขารทุกอย่างให้หมด

ระเบียบปฏิบัติของหลวงพ่อชา ถือว่าเข้มงวดมาก แต่หลวงพ่อเลี่ยมก็ไม่ได้ย่อท้อแต่อย่างใด เพราะเคยฝึกมาตั้งแต่สมัยอยู่ที่วัดเดิม ซึ่งถือว่าตรงกับรูปแบบของตัวเองมากกว่าที่จะสร้างความยุ่งยากในฝึกฝน เพื่อเข้าถึงแก่นแท้ของพระศาสนา ด้วยความพากเพียร แม้แต่ในวันพระก็ถือ เนสัชชิก คือ การไม่นอนตลอดคืน ก็อยู่ได้อย่างสบาย จนจิตรู้สึกสว่างไสวและมีความสุขจากการปฏิบัติธรรม

โอวาทธรรม[แก้]

เรื่องที่พูดกัน ก็พูดแต่เรื่องการปรุงแต่งของกริยามารยาท ของความรู้สึกที่เป็นเพลิดเพลินเท่านั้น อย่าไปมองว่าคนนั้นดี คนนั้นเลว คนนั้นเกลียดเรา คนนั้นรักเรา ถ้าเรามองในแง่อย่างนี้ เราจะหลงไปในทิศทางมืด
ถ้าเราวางความรู้สึกของเราในสภาพว่าเป็นสภาวะธาตุ สภาวะขันธ์ มันเป็นกฎธรรมชาติแล้ว จะทำให้เรามีอารมณ์เป็นปกติ…

— พระเทพวชิรญาณ (เลี่ยม ฐิตธมฺโม)

สมณศักดิ์[แก้]