Loading Map....

Date/Time
Date(s) - Sat, 03 Jun 2023
10:30 am - 8:00 pm

Location
วัดป่าโพธิศรัทธา Bodhisaddha Forest Monastery

Categories


 

พิธีวันวิสาขบูชา 2566

วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566

*ตารางกิจกรรม​เต็มวันตั้งแต่เวลา 10.30 น. ถึง 20.00 น.

*พิธีการเวียนเทียน สวดมนต์ทำวัตรเย็น และฟังธรรม เริ่มตั้งแต่เวลา 17.00 น.- 20.00 น.

ขอเชิญร่วมสวดมนต์บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 108 รอบ (“อิติปิโส…”) ตลอดทั้งวัน ซึ่งจะทำในสามช่วง

* เนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็นและกิจกรรมส่วนใหญ่จัดกลางแจ้ง​ กรุณานำเสื้อกันหนาวมาด้วย

* ผู้ที่ต้องการพักค้างคืนและปฏิบัติธรรมต่อ กรุณาขออนุญาต​ก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วัน โดยติดต่อมาที่อีเมล bodhisaddha@gmail.com เนื่องจากพื้นที่มีจำนวนจำกัด

FULL PROGRAMME กำหนดการ (MAY JOIN ANY SESSION)

10:30 AM ALMS ROUND & DANA MEAL OFFERINGS

(พระบิณฑบาตในวัด และถวายภัตตาหาร)

11:00 AM MONKS GIVE BLESSING & LUNCH

(พระสงฆ์ให้พรและรับประทานอาหารร่วมกัน)

12:30 PM CHANT ITIPISO x 36 (สวด อิติปิโส x 36)

3:00 PM CHANT ITIPISO x 36 (สวด อิติปิโส x 36)

5:00 PM VESĀKHA PUJA CEREMONY,

CANDLE PROCESSION & ITIPISO x 36

(พิธีวันวิสาขบูชา-เวียนเทียน-อิติปิโส x 36)

8:00 PM CEREMONY ENDS (เสร็จพิธี)

วันวิสาขบูชา (บาลี: วิสาขปุณฺณมีปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระโคดมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า “วิสาขบูชา” ย่อมาจาก “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ”

ในวันวิสาขบูชา ขอเชิญร่วมสวดมนต์บทสรรเสริญคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 108 รอบ (“อิติปิโส…”) ตลอดทั้งวัน ซึ่งจะทำในสามช่วง

พิธีการจะเริ่มเวลา 17.00 น. ประกอบด้วย ทำวัตรเย็น ฟังพระธรรม เวียนเทียน และสวดพระพุทธคุณ พระธรรม พระสงฆ์ 36 รอบ

* เนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็นและโปรแกรมส่วนใหญ่อยู่ข้างนอก โปรดนำเสื้อผ้าที่อบอุ่นมาด้วย

* ผู้ที่ต้องการพักค้างคืนและปฏิบัติธรรมต่อ ต้องขออนุญาตจาก bodhisaddha@gmail.com ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วัน พื้นที่มีจำนวนจำกัด

 

อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดยในประเทศไทย ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] ส่วนในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท[3]

วันวิสาขบูชา นั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ” ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน