Loading Map....

Date/Time
Date(s) - Sat, 25 May 2024
10:30 am - 8:00 pm

Location
วัดป่าโพธิศรัทธา Bodhisaddha Forest Monastery

Categories


 

พิธีวันวิสาขบูชา 2567

วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม 2567

*ตารางกิจกรรม​เต็มวันตั้งแต่เวลา 10.30 น. ถึง 20.00 น.

*พิธีการเวียนเทียน สวดมนต์ทำวัตรเย็น และสวดพระพุทธคุณ พระธรรม พระสงฆ์ 36 รอบ และฟังธรรม เริ่มตั้งแต่เวลา 17.00 น.- 20.00 น.

ขอเชิญร่วมสวดมนต์บทสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 108 รอบ (“อิติปิโส…”) ตลอดทั้งวัน ซึ่งจะทำในสามช่วง

* เนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็นและกิจกรรมส่วนใหญ่จัดกลางแจ้ง​ กรุณานำเสื้อกันหนาวมาด้วย

* ผู้ที่ต้องการพักค้างคืนและปฏิบัติธรรมต่อ กรุณาขออนุญาต​ก่อนล่วงหน้าอย่างน้อย 2 วัน โดยติดต่อมาที่อีเมล bodhisaddha@gmail.com เนื่องจากพื้นที่มีจำนวนจำกัด

FULL PROGRAMME กำหนดการ (MAY JOIN ANY SESSION)

10:30 AM ALMS ROUND & DANA MEAL OFFERINGS

(พระบิณฑบาตในวัด และถวายภัตตาหาร)

11:00 AM MONKS GIVE BLESSING & LUNCH

(พระสงฆ์ให้พรและรับประทานอาหารร่วมกัน)

12:30 PM CHANT ITIPISO x 36 (สวด อิติปิโส x 36)

3:00 PM CHANT ITIPISO x 36 (สวด อิติปิโส x 36)

5:00 PM VESĀKHA PUJA CEREMONY,

CANDLE PROCESSION & ITIPISO x 36

(พิธีวันวิสาขบูชา-เวียนเทียน-อิติปิโส x 36)

8:00 PM CEREMONY ENDS (เสร็จพิธี)

วันวิสาขบูชา (บาลี: วิสาขปุณฺณมีปูชา; อังกฤษ: Vesak) เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนาสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ด้วยกัน คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระโคดมพุทธเจ้า โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน) ชาวพุทธจึงถือว่า เป็นวันที่รวมเกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ยิ่ง และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า “วิสาขบูชา” ย่อมาจาก “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ”

ในวันวิสาขบูชา ขอเชิญร่วมสวดมนต์บทสรรเสริญคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ 108 รอบ (“อิติปิโส…”) ตลอดทั้งวัน ซึ่งจะทำในสามช่วง

 

อันเป็นเดือนที่สองตามปฏิทินของอินเดีย ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดยในประเทศไทย ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 7 แต่ประเทศอื่นที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท และไม่ได้ถือคติตามปฏิทินจันทรคติไทย จะจัดพิธีวิสาขบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 แม้ในปีนั้นจะมีเดือน 8 สองหนตามปฏิทินจันทรคติไทยก็ตาม[2] ส่วนในกลุ่มชาวพุทธมหายานบางนิกายที่นับถือว่า เหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นเกิดในวันต่างกันไป จะมีการจัดพิธีวิสาขบูชาต่างวันกันตามความเชื่อในนิกายของตน ซึ่งไม่ตรงกับวันวิสาขบูชาตามปฏิทินของชาวพุทธเถรวาท[3]

วันวิสาขบูชา นั้นได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชนทั่วโลกให้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่บังเกิดเหตุการณ์สำคัญ 3 เหตุการณ์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าและจุดเริ่มต้นของศาสนาพุทธ ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดได้เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน ณ ดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล โดยเหตุการณ์แรก เมื่อ 80 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ” ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน (อยู่ในเขตประเทศเนปาลในปัจจุบัน) และเหตุการณ์ต่อมา เมื่อ 45 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และเหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ 1 ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น “วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา (อยู่ในเขตประเทศอินเดียในปัจจุบัน) โดยเหตุการณ์ทั้งหมดล้วนเกิดตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 หรือเดือนวิสาขะนี้ทั้งสิ้น ชาวพุทธจึงนับถือว่าวันเพ็ญเดือน 6 นี้ เป็นวันที่รวมวันคล้ายวันเกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าไว้มากที่สุด และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน